วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

                       💜  บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3💜

                        💗วันที่ 18 สิงหาคม 2563 💗

วันนี้มีการพูดคุยเรื่องของการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  

-วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กจริงหรือไม่ 

    มันสามารถตอบได้ทั้งสองคือ มันสามารถเป็นได้ถ้าหากคุณครู จัดกิจกรรมไม่สอดคล้องกับการพัฒนาของเขา หรือไม่สามารถเป็นได้ถ้าหากครูจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมและเหมาะกับการพัฒนาการของเขาในแต่ละช่วงวัย วิทศาสตร์และคณิตศาสตร์ก็จะไม่เป็นยาขมสำหรับเด็กอีกต่อไป 

-ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสต์กับคณิศาสตร์ตั้งแต่อนุบาลจะยากเกินไปไหม 

   ไม่ยากเกินไปถ้าหากเราใช้กิจกรรมที่สอดคล่องกับพัฒนาการของเราและใช้การสอนยกตัวอย่างในสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเขา ประสบการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัว 

-ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์อย่างไร 

    จัดกิจกรรมที่สอดคบ้องกับการใช้ชีวิตและเกิดจากประสบการณ์ของเด็กโดยตรงเพราะจะทำให้เด็กเข้าใจและสนุกมากขึ้น 

และวันนี้อาจารย์ได้สั่งให้ทำงาน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

                        🌱 บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2🌱

                        🍃 วันที่ 11 สิงหาคม 2563 🍃

วันนี้เป็นสัปดาห์ที่ 2 ในการเรียนวิชานี้ แต่วันนี้อาจารย์ติดภารกิจที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แต่อาจารย์ก็ได้สั้งงานโดยให้สาุปวิจัยวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  บทความวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ รวมถึงตัวอย่างในการสอนของวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

                   🐯  บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1🐯

                    🐵  วันที่ 4 สิงหาคม 2563🐵

ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้เจอกับอาจารย์ โดยการสอนในวันนี้เราเริ่มจากการแนะนำตัวเองโดยหาจุดเด่นที่อจารย์สามารถเดาและจำได้ง่ายว่าเป็นตัวของเราเองพอเราแนะนำตัวเสร็จ อาจารย์ก็ได้พูดในเรื่องของเนื้อหาวิชา การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยเริ่มจากการให้นักศึกษาคิดตามความเข้าใจของนักศึกษาว่าถ้าหสกเรียนวิชานี้นักศึกษาคิดว่าเราจะเรียนเรื่องอะไรบ้างโดยให้ทำมายแมพ


วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สรุปตัวอย่างการสอนการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 จัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เนื้อหาในกิจกรรม ขั้นแรกเริ่มจากการที่พาเด็กๆ ปรบมือเป็นจังหวะ 1 2 3 4 ไป 5 จากนั้น พาเด็กๆไปรู้จักตัวเลข โดยการใช้หนังสือนิทาน การเล่านิทานบอกจำนวนตัวเลขให้แก่เด็กๆได้เรียนรู้ โดยมีการฝึก ให้เด็กๆได้พูดตาม แล้วเล่าตาม คุณครูทีละหน้า เพื่อให้เด็กๆได้เกิดความจำ เพราะเด็กๆส่วนใหญ่ มีการเรียนรู้ที่เกิดจากการจำ การมองภาพการพูดตามและการเรียนแบบนั้นเอง ดังนั้น การจัดกิจกรรม สร้างทักษะทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ทักษะการเล่านิทาน ทำให้เด็ก ได้จำตัวเลขได้ง่ายขึ้น 

ความสำคัญของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 คือเด็กๆสามารถ เจอคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวันของเด็กๆได้ ดังนั้นการฝึกให้เด็กๆได้เรียนรู้ตัวเลขจึงเป็นพื้นฐานของคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัย

สรุปตัวอย่างการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์สพหรับเด็กปฐมวัย

 ชื่อกิจกรรมมารู้จักอากาศกันเถอะ 

-อากาศคือแก๊สที่บริสุทธิ์และไม่มีสีและเป็นการ์ดที่จำเป็นต่อการมีชีวิตของมนุษย์สัตว์และพืชต่างๆ

โดยเนื้อหากิจกรรมจะเริ่มจากการที่พาเด็กๆพูดคุยและพูดเนื้อหาเกี่ยวกับอากาศว่าอากาศมีความสำคัญกับชีวิตเราอย่างไร จากนั้นก็พาเด็กๆทำการทดลองโดยนำแก้วน้ำไปวางไว้บนผิวน้ำเพื่อให้เกิดฟองอากาศในน้ำ 

กิจกรรมต่อไปคืออากาศในขวดน้ำ โดยเริ่มจากให้เด็กๆสำหรับตรวจบริเวณภายในขวดให้กับตำรวจว่าภายในขวดมีอากาศหรือมีหยดน้ำหรือไม่ จากนั้นใช้ขวดน้ำกดลงไปบนผิวน้ำเพื่อให้เกิดฟองและเกิดอากาศในใต้น้ำได้

ดังนั้นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ฝึกให้เด็กได้สังเกต คิดได้

สรุปวิจัยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร (The Development of Basic Science Skills for Young Children Using Herbal Drink Activities)

ความสำคัญ/ความเป็นมา : 

   การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาให้เด็กเกิดองค์ความรู้ การคิด การวางแผน การเรียงลำดับขั้นตอน ตลอดจนการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้ามาใช้ในการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ในการสังเกต การสัมผัส การชิม การฟัง การดมกลิ่น การเปลี่ยนแปลงของอาหารตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การจำแนกและการวัด ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจในการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ จนสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความคิดและการสื่อความหมายข้อมูลได้อย่างสมบรูณ์ต่อไป



วัตถุประสงค์ : 

   1. เพื่อการศึกษาระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและรายด้าน ก่อนและหลังการทดลองการจัดกิจกรรม

   2. เพื่อเปรียบเทียบระดับของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ทั้งโดยรวมและราย ก่อนและการจัดกิจกรรม



สมมติฐาน :

   เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้นเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร



ตัวแปร : 

   1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร

   2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย

        2.1 การสังเกต

        2.2 การจำแนก

        2.3 การวัด

        2.4 การสื่อความหมายข้อมูล



ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง :

    เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนวัดชำป่างาม (สายรัฐประชาสรรค์) อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำนวน 15 คน จากการสุ่มนักเรียน



ระยะเวลาในการวิจัย :

    ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 เวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละประมาณ 50 นาที รวม 24 ครั้ง ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์




เครื่องมือที่ใช้: 

    1. แผนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร


    2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย



การดำเนินการ : 


    1. ผู้วิจัยสร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 สัปดาห์

    2. ผู้วิจัยทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนการทดลอง (Pretest)         จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์

    3. ผู้วิจัยทำการทดลองการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพร ในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์

    4. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองจนครบ 8 สัปดาห์ จากนั้นทำการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์            สำหรับเด็กปฐมวัย หลังการทดลอง (Posttest) ซึ่งใช้แบบทดสอบชุดเดียวกันกับที่สอบก่อนการ            ทดลอง จากนั้นนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์


     5. นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยไปวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐาน



สรุปผลวิจัย :  

    การจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในภาพรวมอยู่ในระดับดี 14.33 คะแนน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการสังเกต 4.13 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก ส่วนด้านการจำแนก 3.26 คะแนน ด้านการวัด 3.60 คะแนน และด้านการสื่อความหมายข้อมูล 3.33 คะแนน อยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและรายด้านมีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการทำเครื่องดื่มสมุนไพรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

สรุปวิจัยการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 สรุปงานวิจัยด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เรื่อง : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทาคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์ : เชวง ซ้อนบุญ

          เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย พฤษภาคม 2554

เผยแพร่โดย : นางสาวนพเก้า   โมลาขาว

         MATH – 3C มาจากแนวความคิดของนักทฤษฎี ดังนี้

1. การกระตุ้นความสนใจ (Motivation : M) 

2. หลักการเรียนรู้แบบปฏิบัติการ (Active Learning : A)

3. ทฤษฎีการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning : T)

4. หลักการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Constructive Learning : C)

5. แนวคิดของ หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning : C)

        กิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของรูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเน้นให้เด็กสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองตามระดับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เด็กสามารถเรียนรู้อย่างมีความสุขและสนุกสนานจากความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก การตัดสินใจเลือกเล่น และการทำกิจกรรมด้วยตนเอง เด็กจะได้รับประสบการณ์ตรงจากการลงมือปฏิบัติกับวัตถุจริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและมีโอกาสสะท้อนผลของการกระทำนั้นด้วย วิธีการที่เด็กสนใจและเหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ประกอบกับมีความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ เด็กสามารถเรียนรู้ได้ทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน ระหว่าง และ หลังการใช้ รูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ขอบเขตของการวิจัย

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบ การเรียนการสอนแบบ MATH – 3 เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 5 - 6 ปี มีขอบเขตการวิจัยดังนี้

     ประชากรที่ใช้ในการวิจัย

          ประชากรในระยะการศึกษาประสิทธิภาพและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH – 3C ประกอบด้วย

   1. นักเรียนชาย - หญิงอายุ 5-6 ปี ที่ก าลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่2ภาคเรียนที่2ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1

   2. ครูปฐมวัยที่ปฏิบัติงานสอนอยู่ในชั้นเรียนของเด็กปฐมวัยที่มีอายุระหว่าง5-6 ปีภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนอนุบาลชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 1

ตัวแปรที่ศึกษา

           ทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 8 ทักษะประกอบด้วยทักษะการเปรียบเทียบ การจัดประเภท การจับคู่ การเรียงล าดับ การนับ การรู้ค่าจำนวน การวัด และการบอกตำแหน่ง

สมมติฐานการวิจัย

      หลังจากได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบ MATH – 3C เพื่อพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งรายด้านและโดยรวมทั้ง 8 ทักษะสูงกว่าทั้งก่อนการทดลองและระหว่างการทดลอง และระหว่างการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง

สรุปบทความคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ศิริลักษณ์ วุฒิสรรพ์ ( 2551: 28-29 ) กิจกรรมควรออกแบบให้กระตุ้นความคิดทางคณิตศาสตร์ ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายๆ กับการแก้ปัญหา สร้างความรักความชอบต่อการทำคณิตศาสตร์ การประเมินผลเน้นการประเมินการจัดกิจกรรม และกิจกรรมต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับเด็ก เน้นการประสบการณ์ของเด็กเป็นรายบุคคล

-คณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัยนั้น มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะเตรียมเด็กให้มีความพร้อมทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น นั่นคือ ให้เห็นคุณค่าของคณิตศาสตร์ให้ใช้เหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ได้ ให้สื่อสารคณิตศาสตร์เป็น ให้แก้ปัญหาได้ และมีความมั่นใจในความสามารถการทำคณิตศาสตร์ของตน ประสบการณ์ที่จัดต้องเป็นประสบการณ์ตรงที่เหมาะกับวัย มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์แก่เด็ก พัฒนาความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์และพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน__

คณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันของเด็กในการเล่นและพูดคุยของเด็กนั้น มักจะมีเรื่องคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ

-กิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

การนับถือว่าเป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จักเด็ก จะเชื่อมโยงตัวเลขกับสิ่งต่างๆกิจกรรมที่เกี่ยวกับการนับควร ให้เด็ก ได้ฝึกจากประสบการณ์จริง อาจให้นับกระดุมเสื้อ นับ ต้นไม้ในสนาม นับหลอดด้าย เป็นต้น

สรุปบทความวิทยาศาสตร์

การสอนลูกเรื่องฤดูกาล (Teaching Children about Seasons)


ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ระดับ: อนุบาล

หมวด: เกี่ยวกับอนุบาล

- หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึง การแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งปีตามสภาพอากาศ แต่ละฤดูกาลจะมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันไปการสอนให้เด็กเข้าใจธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงถูกบรรจุลงในหลักสูตรการศึกษาปฐม วัย พุทธศักราช 2546 ในสาระที่เด็กควรเรียนรู้ เรื่องธรรมชาติรอบตัว ซึ่งเรื่องฤดูกาลเป็นเรื่องหนึ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้จากสภาพจริงในชีวิตประจำวัน และกิจกรรมอื่นๆที่ครูออกแบบตอบสนองความสนใจของเด็ก รวมทั้งพ่อแม่ที่จะสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตให้แก่ลูกเรื่องฤดูกาลเช่นกัน


การสอนเรื่องฤดูกาลมีประโยชน์ต่อเด็ก ดังนี้

-เด็กจะมีความเข้าใจเรื่องของธรรมชาติของฤดูกาล

-เด็กได้ตระหนักรู้ความสัมพันธ์ของฤดูกาลกับการดำรงชีวิตของตนเอง

-เด็กจะเกิดแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้เรื่องอื่นๆต่อยอดจากเรื่องฤดูกาลไปได้อีก

-เด็กได้รับการส่งเสริมให้พัฒนาทักษะด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ในขณะทำกิจกรรมเกี่ยวกับฤดู

-เด็กจะได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพให้เป็นคนช่างสังเกต มีเหตุผล สามารถปรับตัวได้ และรักสิ่งแวดล้อม